| | LineID : @nittaya_2475 |   มือถือ: 087-7998206
โครงหลังคา KITTIRIT-TRUSS

 ระบบโครงหลังคาเหล็กกึ่งสำเร็จรูป 




 โครงหลังคาเหล็กกึ่งสำเร็จรูป เริ่มมีการนำมาใช้เมื่อประมาณ10 ผลิตภัณฑ์โครงหลังคากึ่งสำเร็จรูปเป็นระบบก่อสร้างที่เหมาะจะนำมาใช้สร้างบ้านในภาวะปัจจุบัน เหตุผลก็คือ 1. ปัญหาเหล็กรูปพรรณด้อยคุณภาพ และ 2.การขาดแคลนแรงงานและช่างฝีมือ ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ผู้ออกแบบและนักก่อสร้างหรือบริษัทรับสร้างบ้านเกือบ 100 % นิยมนำ “เหล็กรูปพรรณ” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “เหล็กตัวซี” มาใช้ทำโครงหลังคาบ้าน เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับ “โครงหลังคาไม้” แล้วถือว่าโครงหลังคาเหล็กมีราคาถูกกว่า น้ำหนักเบา สามารถลดต้นทุนการก่อสร้างบ้านลงได้ 




 ปัจจุบันการใช้โครงหลังคาเหล็กในการสร้างบ้าน ส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้เทคนิคและวิธีเดิมๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นแต่ประการใด มิหนำซ้ำคุณภาพผลงานและฝีมือช่างก็ด้อยลงไปกว่าเดิม ทั้งนี้เกิดจากปัญหาเรื่องฝีมือแรงงานหรือช่างเชื่อม ที่ขาดพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในงานเชื่อมไฟฟ้า และส่วนใหญ่มิได้ผ่านกระบวนการฝึกอบรมหรือเรียนรู้เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้าอย่างถูกต้อง 
 จากการสำรวจข้อมูลพบว่าช่างเชื่อมงานโครงหลังคาเหล็ก ส่วนใหญ่มาจากกรรมกรทั่วไปที่ค่อยๆ ฝึกฝนกันเองจากการทำงานจริง แน่นอนว่าย่อมจะส่งผลต่อคุณภาพและผลงานสร้างบ้าน 
  อีกประการที่สำคัญคือ เรื่องของมาตรฐานและคุณภาพสินค้า เราพบว่าเหล็กรูปพรรณหรือเหล็กตัวซี ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดในปัจจุบัน น้ำหนักและความหนาของเหล็กไม่ได้มาตรฐาน หรือศัพท์ทางช่างจะเรียกกันว่า “เหล็กไม่เต็ม” อาทิเช่น เหล็กรูปพรรณขนาด 125 x 75 x 50 ความหนา 2.3 มม. แต่เหล็กที่จำหน่ายกันในท้องตลาด กลับมีมีความหนาจริงเพียง 1.6–2.0 มม. หรือเหล็กรูปพรรณขนาด 150 x 100 x 75 ความหนา 3.2 มม. ขณะที่เหล็กในท้องตลาดมีความหนาจริงเพียง 2.3–3.0 มม. เท่านั้น (แต่พิมพ์ความหนาเต็ม 3.2) ซึ่งหากเจ้าของบ้านไม่รู้เท่าทันร้านค้า หรือผู้รับเหมาอาจนำเหล็กขนาดไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ตรงตามวิศวกรกำหนดไว้ และนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้าน แน่นอนย่อมส่งผลต่อความมั่นคงแข็งแรงและอายุการใช้งานที่สั้นลง 

ส่วนระบบโครงหลังคาเหล็กกึ่งสำเร็จรูปนั้น มีข้อเด่นที่น่าสนใจคือ

1. ใช้ระบบการติดตั้งด้วยน๊อตและสกรู (ไม่ใช้ระบบเชื่อมไฟฟ้าแบบเดิม) 
2. ผิวเหล็กเคลือบกาวาไนท์หรือสังกะสีป้องกันสนิม ทำให้ไม่เกิดสนิมที่เนื้อเหล็กตลอดอายุการใช้งาน 
3. รูปแบบและขนาดเหล็ก ถูกออกแบบและตรวจสอบคุณภาพโดยวิศวกรจากโรงงานผู้ผลิต พร้อมตัดความยาวเหล็กที่จะใช้ประกอบเป็นโครงหลังคามาเสร็จเรียบร้อย 
 เพียงข้อเด่น 3 ข้อนี้ ผู้เขียนก็ค่อนข้างพอใจแล้ว เมื่อเทียบกับโครงหลังคาเหล็กรูปพรรณแบบเดิม ที่ต้องใช้วิธีสั่งเหล็กมาเป็นท่อนๆ (ความยาวท่อนละ 6.00 เมตร) แล้วมาทำการตัดและเชื่อมด้วยไฟฟ้า ทาสีกันสนิม ณ สถานที่ก่อสร้างเอง ซึ่งควบคุมฝีมือและคุณภาพได้ค่อนข้างยาก สร้างความรำคาญในขณะทำงาน (สะเก็ดไฟ) บริเวณสถานที่ก่อสร้างก็สกปรก (เปรอะสี, มีเศษเหล็กเกลื่อน) มีขั้นตอนยุ่งยากในการทำงาน รวมทั้งมีโอกาสเกิดอุบัติขณะง่ายจากไฟฟ้า และ สะเก็ดไฟ 

 
 
 
 เปรียบเทียบ โครงหลังคา Kittirit-Truss กับ โครงหลังคาเหล็กแบบเดิม 




การออกแบบ

  ข้อกำหนดในการออกแบบ ตาม AISC Code. / jis โดยวิศวกร ที่มีประสบการณ์ ในการอกกแบบ และ ควบคุมงานระบบโครงหลังคาสำเร็จรูปโดยตรง เพื่อมาตรฐานและความปลอดภัยตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร แห่งประเทสไทย และ มาตรฐานตาม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ตามมาตรฐาน Structural steel design (มาตรฐาน AISC/ASD/LRFD) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Geo Structure Analysis & Design ที่มีความแม่นยำสุด ตามข้อกำหนดการออกแบบโครงสร้าง

               









Back to Top

 บจก.กิตติฤทธิ์ อินเตอร์เนชั่นแนล
TEL. 0619783696, 0948818282, Fax. 02 194 5755
Email : 
admin@kittirit.com


Follow us from : | | LineID : @nittaya_2475

Copyright © 2016. All rights reserved. Web Design by Showlnw.com